ผลงานของนักศึกษาจาก CED-square คณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้าสองรางวัลจากงานวันนักประดิษฐ์ 2559
ผลงานของนักศึกษาจาก ห้องปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED-square) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้าสองรางวัลจากงานวันนักประดิษฐ์ 2559 ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ณ ศูนย์นิทรรศการเเละการประชุม ไบเทค บางนา
ชุดติดตั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพรถเข็นผัก
Installation kit to enhance the potential of Vegetable Cart
ประเภทอุดมศึกษา
กลุ่มที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ด้านวิศวกรรม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
ชุดติดตั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพรถเข็น เป็นชุดติดตั้งของรถเข็นผักที่ใช้ขนส่งผักจำนวน 1-1.5 ตัน โดยมีกลไกทาง Mechanic และ Electronic ช่วยในการออกตัวและการเข็นขึ้นทางลาดชัน ทำให้ช่วยลดภาระของผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานทำงานได้สะดวกมากขึ้น ที่สำคัญคือช่วยลดอาการบาดเจ็บของผู้ใช้งานชุดติดตั้งทำงานโดย มีมอเตอร์ Brushless DC เป็นตัวส่งกำลังและผ่านชุดเฟืองเกียร์ แล้วผ่านมายังล้อขับเคลื่อนโดยมี Damper and spring เป็นตัวกดให้ล้อสัมผัสกับพื้น ทำให้สามารถควบคุมรถเข็นได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ทีมผู้พัฒนาผลงานได้แก่
นาย มรรคโกวิท เพิ่มภัทร
นาย วรดิส อยู่ดี
โดยมี อ.ดร.จักรพันธุ์ ชวนอาษา, ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และ ผศ.ดร.ฉัตรชัย มานะดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ผลงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง CED-square และตลาดสี่มุมเมือง โดยเป็นงานที่พัฒนาปรับปรุงขึ้นใหม่ จากต้นแบบรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในปี 2557 โดยนายโสพัส ตระกูลแสงรัศมี นายวรพจน์ มัตยะสุวรรณ และนายเสฎฐบุศย์ ดำศรี ที่มี อ.ดร. ธนันต์ ยมจินดา และ อ.ชัยพงศ์ ลิมปานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
เตียงเอียงที่ปรับการเคลื่อนที่ได้หลายทิศทาง
ประเภทอุดมศึกษา
กลุ่มที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธาณสุข
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
เตียงเอียงที่ปรับเคลื่อนที่ได้หลายทิศทางเป็น สิ่งประดิษฐ์ในกลุ่ม นวัตกรรทางการแพทย์ ซึ่งช่วยเหลือผู้ป่วยโรคติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย และผู้ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยโรคติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงทำให้เกิดแผลกดทับ ทางผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมงเป็นมาตรฐาน ก่อให้เกิดความลำบากในการดูแล ทางกลุ่มของเราจึงได้พัฒนาตัวเตียงเอียงที่ปรับเคลื่อนที่ได้หลายทิศทาง ซึ่งเป็นเตียงที่สามารถเอียงซ้ายขวา ช่วยในการพลิกตัว และเช็ดตัวผู้ป่วย นอกจากนั้นเตียง ยังสามารถปรับให้ผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน ช่วยในการกายภาพบำบัดผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง และยังมีฟังก์ชันในการปรับความสูงของเตียง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอีกด้วย
ทีมผู้พัฒนาผลงานประกอบด้วย
นาย อภิสิทธิ์ แก้วหนู
นาย วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร
นาย กรวัฒน์ แสงประสาทพร
นาย ปฏิภาณ ภู่ขาว
นาย บริรักษ์ บุญเล่า
นาย ภาณุชา นิธิปฏิคม
โดยมี ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และ อ.ดร.จักรพันธุ์ ชวนอาษา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา