นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดแผนธุรกิจ
โครงการ “เถ้าแก่น้อย S&T” จากแนวคิดและความมุ่งหมาย..ที่สอดคล้อง เกิดเป็น “โครงการเถ้าแก่น้อย” จากการรวมพลังของโครงการ Samart Innovation Awards 2012 และ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (สวทช.)
โครงการพิเศษที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กร จากภาครัฐและเอกชน ฟันเฟืองสำคัญของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ผนึกกำลังเพื่อส่งเสิรมนักคิด นักพัฒนา นำแนวคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยี ผลักดันออกสู่ธุรกิจหรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยี ภายใต้แนวคิดของโครงการ คือ Idea to Market... โครงการ “นำแนวคิดเทคโนโลยี สู่เป้าหมายธุรกิจ”ทั้งยังช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับโครงการ ด้วยการผสานจุดเด่นเสริมประโยชน์ให้กัน ระหว่าง ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (สวทช.) และ Samart Innovation Awards 2012เพื่อเสริมคุณภาพ สู่โครงการเถ้าแก่น้อย
จุดเด่นโครงการ
คัดกรองผลงาน จากกลุ่มนักพัฒนารุ่นใหม่ ที่มีความพร้อม..
- ด้านไอเดียสร้างสรรค์
- มีแนวทางความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ หรือมีแผนธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทางด้านการตลาด
- มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี
โดยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นวันประกาศผลรางวัล เถ้าแก่น้อย ทางทีมจากธรรมศาสตร์ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 ซึ่งโครงการเข้าร่วมแข่งขันคือ โครงการ นวัตกรรมทางการแพทย์อย่างทั่วถึงและยั่งยืน ในทีมประกอบด้วย
- นาย ธีรพงศ์ สมุทรอัษฎงค์ นศ. ป.โท สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- นายโชคชัย ไตรศักดิ์ นศ. ป.ตรี สังกัดภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- นางสาวกานต์ณิศา มูลผล นศ. ป.ตรี สังกัดภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- นางสาวพัสตาภรณ์ เสือสา นศ. ป.ตรี สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
รศ.ดร จิรารัตน์ ธีระวราพฤกษ์ และ ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
โดยรูปแบบของผลงานที่ส่ง เป็น แผนธุรกิจของ อุปกรณ์คนพิการ ที่สามารถตอบโจทย์คนพิการในประเทศได้อย่างแท้จริง และสามารถกระจายไปยังผู้ป่วยที่ต้องการใช้อุปกรณ์ได้ โดยตัวอุปกรณ์ที่ส่งเข้าแข่งขันครั้งนี้ โดยเป็นอุปกรณ์แรกเริ่มของทางบริษัท ประกอบด้วย รถเข็นคนพิการแบบปรับยืน และชุดถอดประกอบรถเข็นคนพิการแบบใช้ไฟฟ้า ดังรูปด้านล่าง
รถเข็นคนพิการแบบปรับยืน
ชุดถอดประกอบรถเข็นคนพิการแบบใช้ไฟฟ้า